Pages

ขออนุญาต กัญชา???

 1. การขออนุญาตใช้สมุนไพรควบคุม มี 3 ลักษณะ (ขึ้นกับความประสงค์ของผู้มาขออนุญาต)

   1.1 ขออนุญาตศึกษาวิจัย

   1.2 ขออนุญาตจำหน่าย / แปรรูปสมุนไพรควบคุม เพื่อการค้า

   1.3 ขออนุญาตส่งออกสมุนไพรควบคุมเพื่อการค้า


2. หลักเกณฑ์ และวิธีการพิจารณาอนุญาต เป็นไปตาม กฎกระทรวง การอนุญาตให้ศึกษาวิจัยหรือส่งออกสมุนไพรควบคุม หรือจําหน่าย หรือแปรรูปสมุนไพรควบคุมเพื่อการค้า พ.ศ. 2559 

https://indi.dtam.moph.go.th/images/1_N2.PDF



3. ผู้อนุญาตตาม พรบ.คุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2542 คือปลัดกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งได้มอบอำนาจในการอนุญาตตามคำสั่งกระทรวงสาธารณสุข ที่1013/2560 ลงสันที่ 31 ก.ค. 2560 ไว้ดังนี้

   3.1 ให้อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยฯ เป็นผู้อนุญาตสำหรับคำขอที่ยื่นที่ส่วนกลาง

   3.2 ให้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด เป็นผู้อนุญาต สำหรับคำขอที่ยื่น ณ สสจ นั้นๆ https://indi.dtam.moph.go.th/images/%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%98.1013_2560.pdf


4. แบบคำขอ แบบใบอนุญาต เป็นไปตามประกาศกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก เรื่อง กําหนดแบบตามกฎกระทรวงการอนุญาตให้ศึกษาวิจัยหรือส่งออกสมุนไพรควบคุม หรือจําหน่าย หรือแปรรูปสมุนไพรควบคุมเพื่อการค้า พ.ศ. 2559 https://indi.dtam.moph.go.th/images/2_N2.PDF  โดยต้องเลือกใช้ใบอนุญาตให้ตรงกับความประสงค์ของผู้ขออนุญาต


5. ค่าธรรมเนียมการขออนุญาต และการออกใบอนุญาต มีดังนี้

   5.1 ค่าธรรมเนียมคำขออนุญาต ฉบับละ 20 บาท (กฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 )

   5.2 ค่าธรรมเนียมใบอนุญาต (กฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2549) 

        5.2.1 ใบอนุญาตศึกษาวิจัยสมุนไพรควบคุม ฉบับละ 1,000 บาท

        5.2.2 ใบอนุญาตส่งออกสมุนไพรควบคุมเพื่อการค้า ฉบับละ 20,000 บาท

        5.2.3 ใบอนุญาตจำหน่ายหรือแปรรูปสมุนไพรควบคุมเพื่อการค้า ฉบับละ 3,000 บาท

*มาตรา 46 วรรคสาม กำหนดให้ใบอนุญาตมีอายุ 3 ปี นับวันสิ้นปีปฏิทิน (31 ธ.ค. )

**อัตราดังกล่าวใช้สำหรับการต่อใบอนุญาตด้วย


6. การรับชำระค่าธรรมเนียมแบบคำขอ และค่าธรรมใบอนุญาต มีแนวทางการดำเนินงานตามไฟล์ต่อไปนี้