Pages

Topping & Fimming






 TOPPING VS FIMMING

ต่างกันยังไง เลือกใช้แบบไหนดี ?

.

เป็นคำถามคาใจสำหรับมือใหม่หัดปลูกกัญ (อีกแล้ว) นั่นก็คือจะเลือกแบบไหนระหว่างท็อป (TOPPING) และฟิม (FIMMING) ?

.

วันนี้จึงขอพาไปทบทวนกัญหน่อย

.

ในช่วงทำใบ (Vegetative Stage) หลังจากเมล็ดงอกออกมาเป็นต้นอ่อนได้ประมาณ 2 - 3 อาทิตย์ ต้นไม้ก็จะเข้าสู่ช่วงทำใบ รากจะเจริญเติบโตมากขึ้น ต้นอ่อนจะมีใบ กิ่งก้านและข้อตามลำต้นเพิ่มขึ้นโดยประมาณ 4 - 6 ข้อ และต้องการแสงคาร์บอนไดออกไซด์ และน้ำ

.

นอกจากการดูแลสภาพแวดล้อม การให้ปุ๋ย แสงแดด ป้องกันโรค อย่างเหมาะสมแล้ว เรายังจำเป็นต้องเด็ดยอด เพื่อทำให้กัญชาเป็นพุ่มเนื่องจากมีการแตกกิ่งใหม่ขึ้นมา ซึ่งก็หมายถึงผลผลิตที่จะได้รับเพิ่มจากกิ่งก้านเหล่านี้ แต่จะเลือกการเด็ดยอดแบบไหนดีล่ะ ? 

.

เพราะการท็อป (TOPPING) และฟิม (FIMMING) ต่างก็มีดีไปคนละอย่าง ตามไปดูกันว่าเทคนิคการเด็ดยอดแบบไหนที่คุณควรเลือกใช้ 


TOPPING vs FIMMING

.

การเด็ดยอดกัญชาทั้งสองแบบเป็นวิธีที่ทำให้ต้นกัญชาเกิดความเครียด โดยพื้นฐานเป็นการตัดยอดหลักของต้นกัญชา เพื่อให้เกิดการแบ่งสารอาหารและแตกยอดใหม่ขึ้น สามารถปรับปรุงคุณภาพและปริมาณการเก็บเกี่ยวได้อย่างมาก เพราะขณะที่เราเด็ดยอด ในเวลาต่อมาเราก็จะได้ยอดเพิ่มจำนวนมากขึ้น ซึ่งแล้วแต่เทคนิคที่ใช้ ทั้งนี้การ TOP หรือ FIM ต้องทำในช่วงที่ต้นกัญชามีข้อประมาณ 5 - 6 Node (ข้อหรือตากิ่ง) ดูขนาดต้นว่าพอสมควรทำได้แล้ว ถ้าทำในช่วงที่ต้นยังเล็กเกินไปอาจจะมีผลทำให้การเติบโตช้าลงได้


FIMMING

วิธีนี้เป็นเทคนิคการเด็ดยอดที่เกษตรกรผู้ปลูกส่วนใหญ่ควรใช้ โดยการเด็ดยอดส่วนบนสุดของยอดประมาณ 60-70% เหลือไว้ประมาณ 30 % ซึ่งเป็นวิธีทำที่ใกล้เคียงกับ TOPPING เกษตรกรผู้ปลูกกัญชาหลายคนเลือกที่จะ FIMMING เพราะรับประกันว่าจะได้ผลผลิตที่มากขึ้น เพราะจะได้ยอดเพิ่มใหม่ประมาณ 4 ยอด การงอกของยอดใหม่เกือบเท่ากันและไม่ลดความสูงเหมือนการ TOPPING นอกจากนี้ FIMMING ยังทำให้พืชเครียดน้อยกว่าและฟื้นตัวได้เร็วกว่าการ TOPPING  


การ FIMMING สามารถทำได้หลายครั้ง ทำให้มีศักยภาพในการเก็บเกี่ยวสูง ประโยชน์อีกประการหนึ่งคือช่วยให้ผู้ปลูกสามารถควบคุมทรงพุ่มได้ และรักษาสมดุลเพื่อการเจริญเติบโตที่เหมาะสม

.

สรุปข้อดีของ FIMMING

- ต้นไม้ไม่เกิดบาดแผลมากนัก ต้นไม้เครียดน้อย

- ไม่ลดความสูงเหมือนการ TOPPING

- แทบจะไม่ชะลอการเจริญเติบโตของพืช

- ส่งผลต่อการกระจายออกซินในกัญชาดีกว่าการท็อปปิ้ง 

- พืชที่แตกกิ่งก้านไม่เพียงแต่จะมียอดจำนวนมากขึ้น แต่ยังแตกกิ่งก้านสาขาได้มากอีกด้วย

- สามารถทำได้ง่าย เเละสามารถ FIM ได้มากกว่าหนึ่งครั้ง โดยจะได้รับยอดพืชที่มีหลายสิบยอด 

.

TOPPING

วิธีนี้คือการเด็ดยอดเพื่อทำให้ต้นไม้แตกยอดใหม่โตเร็ว และแตกยอดแบบทวีคูณ โดย Nodes หรือตากิ่ง ในทุกๆ ตากิ่ง จะสามารถแตกยอดได้ 2 ยอดเสมอ ถ้าหากได้รับแสงแดด น้ำ และอาหารอย่างเพียงพอ ทั้งนี้ ปกติแล้วการเด็ดยอด เราควรรอให้ต้นไม้มีประมาณ 4-6 Nodes ขึ้นไป หรือถ้าจะให้ดีควรเด็ดยอดในช่วง 8 -12 Nodes จึงจะทำให้ต้นฟื้นตัวไว้กว่าและต้นไม่ค่อยช็อค

.

TOPPING เป็นการตัดส่วนบนของพืชออกเพื่อหยุดการเจริญเติบโตในแนวดิ่ง เพื่อส่งเสริมการเติบโตด้านข้างไปทางกิ่งด้านล่างของพืชแทน นับเป็นขั้นตอนที่จำเป็นที่จะทำให้พืชแข็งแรงและให้ผลผลิตที่มีคุณภาพ เพราะหลังจากเด็ดยอดแล้ว ฮอร์โมนการเจริญเติบโตของพืชจะกระจายไปยังส่วนล่างสุดอย่างสม่ำเสมอ ทำให้กิ่งด้านที่เล็กกว่า เหล่านี้งอกออกมาและก่อตัวเป็นตาขนาดใหญ่และหนาแน่น 

.

เทคนิคนี้ บางคนอาจเด็ดยอดที่ตากิ่งล่างๆ หรือ Node ล่างๆ ขณะที่บางคนชอบเด็ดยอด Node ด้านบนแล้วแต่เทคนิค โดยต้องทิ้งระยะห่างให้ต้นของเราฟื้นให้เค้าโตอีก 2-3 nodes แล้วเราสามารถเด็ดยอดต่อเพื่อให้ต้นไม้โตมาเป็น 4 ยอด และเมื่อเราตัดยอดอีกครั้งจาก 4 เราก็จะได้ 16 ยอดเป็นอย่างต่ำ

 .

สรุปข้อดีของ TOPPING  

- สามารถเพิ่มผลผลิต โดยมีช่อดอกจำนวนมาก 

- ชะลอการเจริญเติบโตของพืชอย่างมากในช่วงเวลาสั้นๆ 

- สามารถทำให้ต้นเตี้ยดูแลง่าย ยอดทุกยอดจะได้รับแสงเท่ากัน

- สามารถนำยอดไปชำต่อได้


 .

สำหรับเทคนิคการ Fimming และ Topping ในผู้ที่เชี่ยวชาญ อาจจะนำมาใช้ร่วมกันทั้งสองวิธี เช่น เมื่อ Fimming แล้วเมื่อยอดใหม่มาก็อาจจะมีการ Topping เพื่อที่ต้นจะได้เตี้ย และความสูงของยอดจะได้เท่ากัน ส่วนยอดเล็กๆ ที่อยู่ด้านล่างก็จะยืดออกเพราะหลังจากที่เราเด็ดยอดหลัก ลำต้นก็จะส่งอาหารให้ยอดใหม่ ยอดรองเล็กๆ จะเติบโตเท่ากัน และไม่บังแสงกันนั่นเอง 

.

ข้อควรรู้ อย่าเด็ดยอดในช่วงที่พืชยังไม่เติบโต หรือมีปัญหา รวมทั้งในระยะออกดอก แต่ควรทำในช่วงที่พืชกำลังทำใบนานก่อนที่จะออกดอก และควรตรวจสอบให้แน่ใจว่า ได้ใช้อุปกรณ์ที่สะอาดและเหมาะสม เนื่องจากการปนเปื้อนอาจทำให้เกิดอันตรายต่อต้นไม้ได้ 

.

.

ขอขอบคุณ 🙏

ที่มา ที่มา : หนังสือ “รู้ก่อนปลูก กัญชา กัญชง กระท่อม พืชพร้อมทำเงิน”

เรียบเรียงโดย : ธวัช จรุงพิรวงศ์ วิสาหกิจชุมชน Thai Herb Centers





Thai Herb Centers

วิสาหกิจชุมชน